แอคติเวท

สารกระตุ้นการเจริญเติบโตพืช

(Plant stimulants)

แอคติเวท

สารกระตุ้นการเจริญเติบโตพืช

 (Activate)

แอคติเวท คืออะไร ?

      แอคติเวท คือสารกระตุ้นการเจริญเติบโตพืช (Plant stimulants) ที่ทำหน้าที่ในการกระตุ้น การเปิดระบบภูมิคุ้มกัน และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช รวมถึง การเกิดกระบวนการป้องกันและการต้านทานต่อโรคของพืช ตลอดจนการปรับสภาพของพืช ต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยมีกลุ่มสารที่ แอคทีฟ เป็นสารที่มีส่วนประกอบของสาร กลุ่ม Fatty acid กับ กลุ่ม Oligosaccharide จนเป็นสารใหม่ ที่เรียกว่าL-POS (Lipo-PectoOligoSaccharide) [ซึ่งสารนี้ทางกลุ่มงานวิจัยทางเราได้รับรางวัล ที่งานPRIX EIFFEL International Invention Contest 2023 ที่ประเทศฝรั่งเศส.] ซึ่งสาร L-POS นี้ เป็นกลุ่มที่กระตุ้นภูมิ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งในระบบพืชว่า อีลิซิเตอร์ (Elicitor)...

..แล้ว อีลิซิเตอร์ คืออะไร? มาทำความรู้จัก กับคำว่า อีลิซิเตอร์ กันก่อน เพื่อจะได้เข้าใจว่า แอคติเวท นั้นทำงานอย่างไร ?

  • อีลิซิเตอร์ เป็นสารที่เมื่อออกฤทธิ์ จะเป็นการชักนำ เปิดช่องทางให้ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพสรีระ และกระตุ้นให้ขีดความสามารถในการป้องกันภัยจากภายนอกดีขึ้น หรือ มีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมในสภาพต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งความสามารถในการตอบสนองในด้านต่างๆ ของพืชโดยพืชมีความสามารถเหล่านั้นในตัวเองอยู่แล้ว แต่ไม่ได้นำออกมาใช้ หรือแสดงออกมาให้เห็นในขณะนั้นๆจนกว่าจะมีการ ถูกรบกวนจากสิ่งต่างๆ เช่น ถูกรุกรานโดยเชื้อรา เชื้อโรคต่างๆ แมลง หรือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม หนาวจัด ร้อนจัด เป็นต้น พืชก็จะตอบสนองโดยการสร้างและเปิดระบบภูมิคุ้มกัน (Elicitor) นั่นเอง  .

    ดังนั้น หลังจากที่พืชได้รับ แอคติเวท ของเราเข้าไปแล้ว ก็จะมาทำการกระตุ้นและ ทำให้เกิดสภาวะ อีลิซิเตอร์ แบบธรรมชาติ โดยไม่ได้ใช้เคมีใดๆ จึงทำให้พืชได้รับประโยชน์ ต่างๆมากมาย ดังนี้

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโต
  • แสดงออกถึง ยีนเด่น และ ไปทำการลด ยีนต้านทาน (Resistance gene) ให้เด่นขึ้นมาตามสายพันธ์ุ
  • เพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสง ทำให้ใบใหญ่ปรุงอาหารได้มากขึ้นแม้ในวันที่มีแสงน้อยๆ (ผลจากการสร้าง แคโรทีนอยด์ (Carotenoids) และ เบต้าแคโรทีน (ฺBeta-carotene))
  • ช่วยให้พืชปรับตัวจากสภาพเคลียด ปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
  • ให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น การเปิดตาดอก การแทงช่อ รวง ที่เพิ่มขึ้น
  • สะสมอาหารได้ดีในกลุ่มพืชผลไม้ พืชหัว พืชสะสมตามลำต้น 
  • ทำให้พืชนั้น มีกลิ่น และรสชติ ที่จำเพาะเจาะจง หอมละมุน นุ่มละไม
  • ทนต่อสภาพโรคพืชได้ดีขึ้น ไม่ออกอาการติดโรค ไม่เป็นภาวะอมโรค
  • ใช้แช่เมล็ด เพิ่มอัตรางอก และการเจริญเติบโตของกล้าอ่อน ใช่แช่ท่อนพันธุ์ เพื่อให้รากออกดี
  • ทำให้โรคไม่แพร่กระจาย มีการกดอาการของโรค ไม่ให้แพร่กระจาย
  • กระตุ้นให้เกิด กรดจาสโมนิก ช่วยให้พืชทนต่อโรคจากเชื้อราและทนต่อความเครียด รวมถึง ชักนำให้พืชสังเคราะห์เมแทบอไลต์ แล้วได้สารประเภท สารอัลคาลอยด์
  • กระตุ้นให้เกิด กรดซาลิซิลิก ที่เป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้พืชรับรู้การเข้ามาโจมตีของเชื้อโรค และสร้างระบบคุ้ม รวมถึงส่งกลิ่น ทำให้พืชสามารถช่วยเรียกตัวห้ำตัวเบียน ได้ด้วย
  • ช่วยส่งเสริมการออก(เปิด)ตาดอก (ใช้การผสม 2 Dose) ด้วยการทำให้ C/N Ratio กว้างขึ้น
  • ในอนาคต ต่อยอดทำเป็น (อยู่ในช่วง R&D)

        - ทำให้พืชเป็นอาหารประเภท Functional food โดยให้มีปริมาณของวิตามิน ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และสารอื่นๆ ตามที่ร่างกายต้องการ               

        - ทำให้พืชเป็นอาหารประเภท Dietary supplement คือ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ใช้รับประทานเพิ่มเติมจากอาหารประจำวัน

        - ทำให้พืชเป็นอาหารประเภท Nutraceutical food เป็นอาหารที่ให้ผลทางยา มีประโยชน์ด้านสุขภาพมีผลทางป้องกันและรักษาโรค

สนใจ ข้อมูลเพิ่มเติม
แอคติเวท

แอคติเวท ใช้กับพืชอะไรได้บ้าง ?

      โดยคุณสมบัติข้างต้น และประโยชน์ที่พืชได้รับนั้น จึงทำให้ แอคติเวท สามารถใช้กับพืชได้ ทุกชนิด ดังนี้

  • กลุ่มผัก ผักสลัด ผักสวนครัว ผักสมุนไพรและเครื่องเทศ ผักพื้นบ้าน ผักป่า ผักกินใบ ผักกินดอก ผักกินผล ผักกินหัวหรือราก
  • กลุ่มไม้ผล และ ไม้ยืนต้น เช่น มะขามหวาน ลำไย  ส้มเขียวหวาน ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง ฝรั่ง มะขามป้อม องุ่น ชมพู่ มะตูม กล้วยหอม พุทรา  มะปราง มะยงชิด มะขามป้อม องุ่น ชมพู่ แตงโม กล้วยหอม ลูกตาล มะตูม มะขามเทศ ส้มโอ สับปะรด ขนุน มะม่วง แตงโม มะม่วงหิมพานต์  กล้วยน้ำว้า ลิ้นจี่  มะไฟ ลูกหว้า  แตงโม สับปะรด ทุเรียน ลิ้นจี่  มังคุด ขนุน จำปาดะ เงาะ ระกำ  สละ ระกำ ชมพู่ กระท้อน  ขนุนจำปาดะ มะละกอ น้อยหน่า ฝรั่ง มะเฟือง ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง มะยม ลองกอง ลางสาด ส้มเขียวหวาน  ละมุด มะขามป้อม เป็นต้น
  • กลุ่มไม้ดอก ไม้ประดับ และพืชอื่นๆ อีกมากมาย


แอคติเวท ใช้ และ ผสม อย่างไร ?

  • ในกรณีที่สร้างภูมิคุ้มกันและเพิ่มการเจริญเติบโต
ชนิดของพืช อัตราการใช้ วิธีการใช้
ไม้ผลที่เป็นไม้ยืน เช่น ทุเรียน ลำไย มะม่วง เงาะ มังคุด เป็นต้น 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมน้ำฉีดพ่นทางใบ ทุกๆ 30 วัน
ไม้ผลที่เป็นไม้ล้มลุก เช่น เมล่อน แตงโม สตรอเบอรี เป็นต้น 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมน้ำฉีดพ่นทางใบ ทุกๆ 30 วัน
พืชผักสวนครัว ผักกินผบ เช่น มะเขือเทศ พริก เป็นต้น 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมน้ำฉีดพ่นทางใบ ทุกๆ 30 วัน
  • ในกรณีต้องการกระตุ้นเพื่อทำการเปิดตาดอก
ชนิดของพืช อัตราการใช้ วิธีการใช้
ไม้ผลที่เป็นไม้ยืน เช่น ทุเรียน ลำไย มะม่วง เงาะ มังคุด เป็นต้น 40-50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมน้ำฉีดพ่นทางใบ ทุกๆ 30 วัน
ไม้ผลที่เป็นไม้ล้มลุก เช่น เมล่อน แตงโม สตรอเบอรี เป็นต้น 40-50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมน้ำฉีดพ่นทางใบ ทุกๆ 30 วัน
พืชผักสวนครัว ผักกินผบ เช่น มะเขือเทศ พริก เป็นต้น 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมน้ำฉีดพ่นทางใบ ทุกๆ 30 วัน

หมายเหตุ ทางลูกค้าจะต้องปรึกษากับ ผู้เชี่ยวชาญ ของทางบริษัทฯ ก่อนนะคะ เพราะการเปิดตาดอกจะต้องมีขั้นตอนอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะเข้าสู่ ฤดูกาล ออกผลผลิตของพืชนั้นๆ

สนใจ ข้อมูลเพิ่มเติม